การวินิจฉัยโรคสมองเสื่อมอัลไชเมอร์ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น

การวินิจฉัยโรคสมองเสื่อมอัลไชเมอร์ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น อาการความจำถดถอยจะมีอาการอยู่หลายปีก่อนจะเริ่มต้นของโรคสมองเสื่อมอัลไชเมอร์ ภาวะนี้เรียกว่า อาการความจำถดถอย (Minimal cognitive impairment; MCI) บัจจุบันโดยการพัฒนาการตรวจหาสาร biomaker การตรวจหา biomaker จะมีลักษณะสองอย่างคือการตรวจหาพยาธิสภาพของการเกิดโรคสมองเสื่อมอัลไชเมอร์และการตรวจหาการที่เซลล์ประสาทได้รับบาดเจ็บ สารที่เป็นพยาธิสภาพชองโรคสมองเสื่อมอัลไชเมอร์ก็คือ สารเบต้าอมีลอยด์ (AB)ซึ่งสามารถตรวจได้จากการตรวจ PET imaging หรือจากการตรวจในน้ำไขสันหลังโดยวิธีการตรวจ PET imaging ในการวินิจฉัยจากภาพการตรวจ 11C-PIB PET ในผ.ป.โรคสมองเสื่อมอัลไชเมอร์จะพบว่ามีการตรวจพบสารเบต้าอมีลอยด์ อย่างชัดเจนแต่จะไม่สัมพันธ์กับความรุนแรงของโรคในคนปกติสูงอายุได้ซึ่งจะมีการตรวจพบสารเบต้าอมีลอยด์ได้ประมาณ 12% ในคนอายุ 60 ปี 30% ในคนอายุ 70 ปี และ 50% ในคนอายุ 80 ปีคนปกติที่มีสารเบต้าอมีลอยด์ มักจะมีความสัมพันธ์อย่างสูงกับการมี APoE-e4 allele ในคนปกติที่มีสารเบต้าอมีลอยด์ จะมีความเสี่ยงสูงที่มีความจำถดถอยและสมองฝ่อที่จะเป็นอาการเริ่มต้นของโรคสมองเสื่อมอัลไชเมอร์ จากการศึกษาระยะยาว (Longitudinal studies) โดยการใช้ 11C-PiB ยืนยันว่าการสะสมของสารเบต้าอมีลอยด์ จะเป็นไปอย่างช้าฯ ในผู้สูงอายุที่มีความจำปกติอยู่แต่มีการตรวจพบสารเบต้าอมีลอยด์ จะมีการเพิ่มขึ้นของสารเบต้าอมีลอยด์ประมาณ 2-3% ต่อปีชึ่งจะเหมือนในผ.ป. … Continue reading การวินิจฉัยโรคสมองเสื่อมอัลไชเมอร์ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น